วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553
นักวิจัยพบวิธีเอาชนะภาวะสูงวัย เปิดช่องพัฒนา "ยาอายุวัฒนะ
เอเจนซี – นักวิจัยไขความลับความอ่อนเยาว์ตลอดกาลสำเร็จ เชื่อนำไปสู่การคิดค้นพัฒนา ‘ยาอายุวัฒนะ’ ที่จะทำให้คนเราดูเป็นหนุ่มสาวยาวนานกว่าปกติ
ชีวิตอาจยืนยาว สุขภาพแข็งแรงขึ้น ห่างไกลจากโรค อาทิ อัลไซเมอร์ และโรคหัวใจ ผิวหนังและเส้นผมเปล่งประกายความอ่อนเยาว์ ยาที่ว่ายังอาจทำให้คนเรามีลูกได้แม้ล่วงเข้าวัยดึกแล้วก็ตาม นอกจากนั้น การขยายเวลาที่ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของ รัฐ และภาระในการดูแลผู้สูงวัยในครอบครัวลงได้อย่างมาก
การศึกษานี้ดำเนินการโดยดร.โรนัลด์ เดปินโฮ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ และตีพิมพ์อยู่ในวารสารเนเจอร์ นี่เป็นครั้งแรกที่ดร.เดปินโฮสามารถทำให้ปรากฏการณ์การสูงวัยในสัตว์ย้อนกลับในการทดลองกับหนู ก่อนการบำบัด ผิว สมอง ระบบย่อยอาหาร และอวัยวะอื่นๆ ของหนูมีลักษณะเหมือนคนอายุ 80 ปี
แต่ภายใน 2 เดือนที่ได้รับยาปรับเปลี่ยนเอนไซม์สำคัญ หนูสร้างเซล์ใหม่เพิ่มขึ้นและเกือบเรียกได้ว่ากลับสู่วัยหนุ่มอย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญคือหนูตัวดังกล่าวหายจากการเป็นหมันและมีลูกได้อีกครั้ง
ดร.เดปินโฮระบุว่า ถ้าเป็นมนุษย์ จะเท่ากับคนที่อายุ 40 ปีแต่มีสภาพเหมือนคนอายุ 80 ปี และยาสามารถปรับเปลี่ยนปรากฏการณ์การสูงวัยย้อนกลับสู่ระดับอายุ 50 ปี
ส่วนสำคัญของเรื่องนี้คือโครงสร้างที่เรียกว่า เทโลเมอเรส ซึ่งเป็นนาฬิกาชีวภาพขนาดจิ๋วที่ส่วนปลายสุดของโครโมโซมและทำหน้าที่ปกป้อง โครโมโซม เมื่อเวลาผ่านไป เทโลเมอเรสจะสั้นลงเรื่อยๆ เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคตามวัย เช่น อัลไซเมอร์ และโรคหัวใจ
ดร.เดปินโฮประสบความสำเร็จในการทำให้เอนไซม์ดังกล่าวฟื้นคืนชีพในหนูที่ถูก ทำให้แก่ก่อนวัยเพื่อเลียนแบบภาวะสูงวัยในคน โดยตอนแรกนั้นคาดหวังเพียงว่าเทคนิคนี้จะสามารถหยุดยั้งหรือชะลอกระบวนการ สูงวัยได้ ดังนั้น การพบว่าเทคนิคนี้สามารถทำให้กระบวนการสูงวัยย้อนกลับจึงสร้างความประหลาดใจ อย่างยิ่ง
ดร.เดปินโฮยังเชื่อว่า นี่อาจนำไปสู่การพัฒนายาที่ให้ผลกับคนเช่นเดียวกับหนู ซึ่งหากได้รับยาตั้งแต่ช่วงกลางคน อาจช่วยชะลอหรือป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ โรคหัวใจ และเบาหวานได้ รวมถึงอาจทำให้คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีคำเตือนในเรื่องนี้ กล่าวคือเทโลเมอเรสที่ยาวขึ้นอาจกระตุ้นการเติบโตของมะเร็ง และดร.เดปินโฮยอมรับว่ายาเพียงขนานเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาทั้งหมดของภาวะสูง วัยได้ เนื่องจากยังมีปัจจัยอีกมากมายที่มีอิทธิพลต่อเรื่องนี้ ขณะที่ดร.สตีเวน อาร์แทนดี ผู้เชี่ยวชาญด้านเทโลเมียร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในสหรัฐฯ ยอมรับว่านี่เป็นการศึกษาที่น่าสนใจ แต่ยาต่อต้านภาวะสูงวัยน่าจะต้องใช้เวลาพัฒนากันอีกเกิน 10 ปี
ที่มา http://www.soccersuck.com/soccer/viewtopic
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น