จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขคาดว่า จะมีผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงหรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 10 ล้านคน ซึ่ง 70 % ของคนกลุ่มนี้ไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะดังกล่าว ทำให้ไม่ได้รับการรักษาหรือการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม อันจะนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย อาทิ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
บุคคลประเภทใดที่มักจะเป็นความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ประมาณ 30-40% รวมทั้งสิ่งแวดล้อม ความเครียด การใช้ชีวิตที่ต้องรีบเร่ง การแข่งขัน มีผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้เร็วขึ้น ปัจจัยด้านอายุมักพบในอายุตั้งแต่ 40-50 ปี ขึ้นไป
อาการผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรกส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ อาจตรวจพบโดยการตรวจเช็คสุขภาพประจำปี หรือแพทย์วัดความดันของเลือดพบว่าผิดปกติ สำหรับรายที่มีอาการ มึนงง ตาพร่ามัว ปวดศีรษะตรงท้ายทอย เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย บางรายอาจไม่มีอาการใดเลย หากสงสัยว่าเป็นโรคนี้ หรือมีอายุเกิน 35 ปี ควรตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง
การรักษาแบบแพทย์บูรณาการ
ถ้าภาวะความดันโลหิตสุงไม่ได้ถูกควบคุม จะมีผลเสียร้ายแรงตามมาจึงจำเป็นต้องพบแพทย์และได้รับยาสม่ำเสมอ การรักษาวิธีการอื่นไม่สามารถทำให้หาย แต่อาจลดหรือเลิกยาได้การใช้การรักษาวิธีอื่น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อปรับยาหรือการรักษาให้เหมาะสม
การล้างพิษ สารโลหะหนักฟื้นฟูหลอดเลือดด้วยวิธีการ Metal Detoxification การให้สารน้ำทางหลอดเลือด (ให้น้ำเกลือ) ที่มีสารประกอบประเภทกรดอะมิโน ที่เรียกว่า EDTA ผสมกับวิตามินและแร่ธาตุ ซึ่งจะทำหน้าที่จับสารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู หรือ แม้แต่แคลเซียมส่วนเกิน ซึ่งตกค้างในเนื้อเยื่อ ตามผนังหลอดเลือดของเรา เพื่อขจัดออกจากระบปัสสาวะ ช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ลดอัตราเสี่ยงหลอดเลือดแข็ง ป้องกันโรคความเสื่อมต่างๆที่เกิดขึ้นจากระบบหมุนเวียนที่ไม่ดี
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจะทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง อาจช่วยลดความดันโลหิต
โยคะและสมาธิ และเทคนิคการผ่อนคลายอื่นๆ สามารถลดความดันโลหิต แต่อาจได้ผลชั่วคราว ดังนั้นถ้าเลือกใช้วิธีนี้ควรทำเป็นประจำทุกวัน
วิธีการเหล่านี้เป็นทางเลือกที่ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงและช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเป็นการบำบัดรักษาโรคและแก้ไขที่ต้นเหตุ
อ้างอิง http://www.facebook.com/AbsoluteHealthCenter
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น